ทอท. ชี้เข้าบริหาร 3 สนามบิน ช่วยเซฟเงินรัฐ-สร้างรายได้ให้ 5 หมื่นล้าน

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า การที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ ทอท. เข้าบริหาร 3 ท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้แก่ ท่าอากาศยานกระบี่, ท่าอากาศยานอุดรธานี และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย ที่ควรต้องมีท่าอากาศยานหลักทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เป็นเกตเวย์ และพัฒนาต่อเป็นศูนย์กลางทางการบิน (ฮับ) เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว และกัมพูชา ซึ่งใครจะเป็นผู้บริหารจัดการท่าอากาศยานก็ได้ เพราะมีสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นผู้กำกับดูแลให้ได้ตามมาตรฐานโลกอยู่แล้ว ส่วนท่าอากาศยานกระบี่นั้น เนื่องจากท่าอากาศยานภูเก็ตผู้โดยสาร และเที่ยวบินค่อนข้างแน่นแล้ว

นายนิตินัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันน่านฟ้าอีสานมีที่ว่างเพียง 2 แห่งก็คือ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุดรธานี ที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นเกตเวย์ แต่สาเหตุที่ต้องเป็น ทอท. เข้าบริหารจัดการ 3 ท่าอากาศยานนั้น กระทรวงคมนาคมเห็นถึงความพร้อมของ ทอท. ที่ถือครองสัดส่วนผู้โดยสารทางอากาศอยู่ถึง 85% ด้วยปริมาณผู้โดยสารสูงสุด 142 ล้านคน/ปี จึงทำให้ ทอท. สามารถให้สิทธิประโยชน์ (Incentive) เพื่อจูงใจในการเดินทาง และเพิ่มปริมาณผู้โดยสารที่สนามบินปลายทางได้ โดยล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท. วันที่ 24 ส.ค.65 มีมติเห็นชอบให้สิทธิพิเศษลดค่าธรรมเนียมลง 95% ในปีแรก สำหรับค่าบริการขึ้นลงของอากาศยาน (Landing Charge) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ให้กับสายการบินที่จะทำการเปิดเส้นทางใหม่มายังสนามบินของ ทอท.

นายนิตินัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ทอท. มีความพร้อมทางเงินลงทุน หากยังเป็น ทย. บริหารจัดการเหมือนเดิม จะต้องได้รับการอุดหนุนเงินลงทุนจากรัฐบาล หรืองบประมาณ ซึ่งคาดว่าทั้ง 3 สนามบิน ต้องใช้งบประมาณปรับปรุงประมาณ 4-5 พันล้านบาท แต่พอโอนมาให้ ทอท. บริหารจัดการ ก็จะใช้เงินของ ทอท. เอง และ ทอท. ก็ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็น ภาษีโรงเรือน และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าเป็น ทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. บริหารจัดการ นอกจากต้องพึ่งพางบประมาณแผ่นดินแล้ว รายได้ หรือเงินปันผลต่างๆ รัฐก็จะไม่ได้รับด้วย จากการคำนวณในช่วง 30 ปีของสัญญา นอกจากจะช่วยประหยัดเงินลงทุนของรัฐบาลแล้ว รายได้ต่างๆ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้ที่จะได้รับประมาณ 4.9-5 หมื่นล้านบาท

นายนิตินัย กล่าวอีกว่า จากการศึกษาของ ทอท. พบว่า ท่าอากาศยานอุดรธานี และบุรีรัมย์ มีอุปสงค์เงา (Shadow demand) สัดส่วนมากถึง 20% ซึ่งอุปสงค์ดังกล่าวคือ จำนวนผู้โดยสารที่ต้องการบินตรงไปยังสนามบินปลายทาง ทั้ง 2 แห่ง แต่ยังคงต้องเสียเวลามาต่อเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเปลี่ยนเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ ส่วนข้อกังวลว่าค่าธรรมเนียมสนามบิน (Passenger Service Charge : PSC) จะแพงขึ้น ยืนยันว่าไม่ได้แพงขึ้นทุกคน เช่น ชาวต่างชาติจะเดินทางจากจังหวัดอุดรธานีไปยังยุโรป สามารถบินตรงกลับไปได้เลยโดยไม่ต้องไปเสียเวลาต่อเครื่องที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยังเสียค่า PSC แค่ครั้งเดียว ไม่ต้องจ่าย PSC สองต่อเหมือนปัจจุบันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายนิตินัย กล่าวด้วยว่า สำหรับค่า PSC ทาง กพท. เป็นผู้พิจารณาตามเกณฑ์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ซึ่งกำหนดให้สนามบินต้องคิดค่าบริการตามต้นทุนในรูปแบบที่ไม่มีกำไรมากนัก และการขึ้นค่า PSC ต้องตามมากับมาตรฐานของต่างประเทศ โดย กพท. จะเป็นผู้ควบคุมราคาไม่ให้ผู้บริหารสนามบินคิดตั้นทุน และค่าบริหารจัดการที่แพงเกินไป.